รับทำPreventive Maintenance รับซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร และทำ Preventive Maintenance (ค่าใช้จ่ายในการทำ PM ต่ำกว่าค่าสูญเสีย ในการหยุดการผลิตจากการซ่อมฉุกเฉิน ... ถ้ามีอุปกรณ์สำรองก็อาจไม่ต้องทำ แต่ถ้าค่า BREAKDOWN COST สูง ก็ต้องทำ PM.)

ค่าใช้จ่ายในการทำ PM ต่ำกว่าค่าสูญเสีย ในการหยุดการผลิตจากการซ่อมฉุกเฉิน ... ถ้ามีอุปกรณ์สำรองก็อาจไม่ต้องทำ แต่ถ้าค่า BREAKDOWN COST สูง ก็ต้องทำ PM.

การซ่อมบำรุงแบบคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า

การซ่อมบำรุงแบบคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยการวัดความสั่นสะเทือนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

  1. การค้นพบปัญหา

  2. การวิเคราะห์ปัญหา

  3. การแก้ไขปัญหา

 การตรวจสภาพเครื่องจักร

การตรวจสอบเครื่องจักรในเบื้องต้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

1. Look  : ดูจากสภาพโดยทั่วๆไป เช่น มี Leak หรือไม่, ดูระดับน้ำมัน

2. Temperature  : ตรวจด้วยอุปกรณ์ หรือใช้การสัมผัสค่าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง

3. Noise   : ฟังเสียงว่าผิดจากเดิมหรือไม่ เช่น ดังมากขึ้น

4. Vibration   : เป็นการใช้อุปกรณ์วัดความสั่นสะเทือนในการช่วยตรวจสภาพเครื่องจักร

 
จุดประสงค์ของการวัดความสั่นสะเทือน

•เพื่อลดการหยุดของเครื่องจักรที่มิได้มีการวางแผนงานมาก่อน (Unplanned Shutdown)
•การเก็บอะไหล่ลดลง ไม่สิ้นเปลืองเงินลงทุนมาก
•ลดปริมาณซ่อมบำรุงที่ไม่จำเป็น
•อายุการใช้งานของเครื่องจักรยาวนานขึ้น
•สามารถผลิตได้มากขึ้นและผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้น
•เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน

 การค้นพบปัญหา

•การวัดความสั่นสะเทือนโดยรวม (Total Vibration Measurement)
•มาตรฐาน ISO 10816
•หน่วยของการวัด
–ระยะทาง (ไมครอน, m)
–ความเร็ว (มิลลิเมตรต่อวินาที, mm/s)
–ความเร่ง (จี, G)


การวิเคราะห์ปัญหา
•ใช้การวัด 3 ทิศทาง
•ใช้เครื่องวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน
•ใช้เทคนิดพิเศษอื่นๆ

                          


การแก้ไขปัญหา

•ความสั่นสะเทือนเกิดขึ้นจากการเกิดแรงชนิดต่างๆภายในเครื่องจักร
•การทำสมดุลย์ (Balancing)
•การปรับศูนย์ของเพลา (Shaft Alignment)
•แก้ไขการหลวมคลอนของเครื่องจักร (Looseness Correction)
•การบำรุงรักษาชุดเกียร์ และการปรับตั้งสายพาน (Gearbox Maintenance and Belt Adjustment)
•การดูแลรักษาความสะอาดและปริมาณของน้ำมันหล่อลื่น

การวิเคราะห์ความผิดปรกติเบื้องต้น

•ค่าที่อ่านได้จากแนวแกนนอน (Horizontal) เป็นค่าที่บอกถึงความผิดปรกติจากการไม่ได้สมดุลย์ (Unbalance) ได้มากที่สุด
•ค่าที่อ่านได้จากแนวแกนตั้ง (Vertical) เป็นค่าที่บอกถึงความผิดปรกติจากการหลวมคลอน หรือความไม่แข็งแรงของโครงสร้างได้มากที่สุด
•ค่าที่อ่านได้จากแนวแกน (Axial) เป็นค่าที่บอกถึงความผิดปรกติจากการเยื้องศูนย์ของเพลา (Misalignment) ได้มากที่สุด 



แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 505,585